วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

คู่มือการไช้ Excell


1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมตารางงาน (Microsoft Excel)
1.1 ลักษณะทั่วไปของโปรแกรม Excel 
โปรแกรมตารางงาน หรือโปรแกรมสเปรดชีต (Spread Sheet) หรือตารางคำนวณ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการทำงานเกี่ยวกับการคำนวณข้อมูล แสดง ข้อมูลในลักษณะเป็นคอลัมน์ หรือเป็นช่องตาราง ซึ่งเราสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ โดยส่วนมาก มักจะเป็นตัวเลขลงในตารางสี่เหลี่ยมที่แบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ มากมาย เรียกว่า เซลล์ (Cell) พร้อม ทั้งสามารถใส่สูตรลงในเซลล์บางเซลล์เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่ 
โปรแกรม Excel ช่วยให้เราคำนวณตัวเลขในตารางได้ง่าย ๆ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ขั้น พื้นฐานไปจนถึงสูตรทางการเงินที่ซับซ้อน และเรายังสามารถใช้ Excel ในการจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงาน และสร้างแผนภูมิได้อีกด้วย 
โปรแกรม Excel มีประโยชน์กับผู้คนแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ซึ่ง สามารถนำ Excel มาช่วยคำนวณรายรับรายจ่ายและงบการเงินได้ นักวิเคราะห์การตลาด ที่จะนำ Excel มาช่วยในการสรุปข้อมูลแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ วิศวกรที่สามารถนำข้อมูลจากการ ทดลองมาให้ Excel สร้างเป็นแผนภูมิลงในรายงานของตนเองได้ง่าย ๆ นักวางแผนสามารถทดลอง ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรถ้าตัวแปรบางตัวเปลี่ยนไป แม้กระทั่งครูอาจารย์ก็ยังสามารถคำนวณ เกรดของนักศึกษาได้ด้วย และนอกจากที่กล่าวแล้ว Excel ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ ได้ อีกมากมาย
1.2 คุณสมบัติของโปรแกรม Excel
โปรแกรม Excel มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.สร้างและแสดงรายงานของข้อมูล ตัวอักษร และตัวเลข โดยมีความสามารถในการ 
จัดรูปแบบให้สวยงามน่าอ่าน เช่น การกำหนดสีพื้น การใส่แรเงา การกำหนดลักษณะและสีของ 
เส้นตาราง การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษร การกำหนดรูปแบบและสีตัวอักษร เป็นต้น 
2.อำนวยความสะดวกในด้านการคำนวณต่าง ๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลข 
และยังมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการคำนวณอีกมากมาย เข่น การหาผลรวมของตัวเลขจำนวนมาก การหา 
ค่าทางสถิติและการเงิน การหาผลลัพธ์ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น 
3.สร้างแผนภูมิ (Chart) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแสดงและการเปรียบเทียบ
ข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart หรือBar Chart) แผนภูมิเส้น (Line
Chart) แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ฯลฯ
4.มีระบบขอความช่วยเหลือ (Help) ที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม หรือสงสัย 
เกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แทนที่จะต้องเปิดหาในหนังสือคู่มือการใช้งานของโปรแกรม ก็สามารถขอ 
ความช่วยเหลือจากโปรแกรมได้ทันที 
5.มีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล โดยโปรแกรมจะต้องมี 
ความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขหรือทำการแทนที่ข้อมูลได้สะดวก 
และรวดเร็ว 
6. มีความสามารถในการจัดเรียงลำดับข้อมูล โดยเรียงแบบตามลำดับ จาก A ไป Z หรือจาก 1 ไป 100 และเรียงย้อนกลับจาก Z ไปหา A หรือจาก 100 ไปหา 1 
7. มีความสามารถในการจัดการข้อมูลและฐานข้อมูล ซึ่งเป็นกลุ่มของข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันในตารางที่อยู่ใน Worksheet ลักษณะของการเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลมนโปรแกรมตารางงานจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง โดยแต่ละแถวของรายการจะ เป็นระเบียนหรือเรคอร์ด (Record) และคอลัมน์จะเป็นฟิลด์ (Field)
2. ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ปรับปรุงใหม่ของ Excel 2007 
Excel 2007 ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ออกแบบมาใหม่ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น มี ประสิทธิผลมากขึ้น สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและค้นหาได้เร็วขึ้น ส่วนติดต่อใหม่นี้ ได้แก่ แม่แบบ ใหม่ ใช้เริ่มต้นทำงานอย่างรวดเร็ว และการใช้พื้นที่มาตรฐานซึ่งเรียกว่า Ribbon แทนเลเยอร์ (Layers) ของเมนูและแถบเครื่องมือที่พบในรุ่นก่อนหน้านี้ ทำให้สามารถหากลุ่มของคำสั่งที่ เกี่ยวข้องกันได้เร็วขึ้น เนื่องจากแท็บที่ใช้ในนั้น จะวางคำสั่งต่าง ๆ ไว้ในส่วนหน้าโดยที่ไม่ได้เรียง ซ้อนลงในเมนูเหมือนก่อน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และสามารถจดจำตำแหน่งคำสั่งได้ดีขึ้น 
องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนติดต่อใหม่ใน Excel 2007 ประกอบด้วย
2.1 แม่แบบใหม่ 
แม่แบบใหม่จากเมนูเริ่ม (Start) สร้างเอกสาร Microsoft Office จะเปิดหน้าต่าง แม่แบบใหม่ หรือใช้แม่แบบ Microsoft Office Online จากปุ่ม Office ที่รายการสร้าง แล้วไปที่ ติดตั้ง แม่แบบของฉัน แม่แบบ Microsoft Office Online ซึ่งมีหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ เด่น งบประมาณ ปฏิทิน รายงานค่าใช้จ่าย ใบแจ้งหนี้ รายการ แผน แพลนเนอร์ กำหนดการ ประกาศ สเตชันเนอรี ใบ บันทึกเวลา ฯลฯ หรือจะไปที่เว็บไซต์ของ Microsoft Office แล้วดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่องก็ได้ 
แม่แบบแต่ละแบบ ได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่เลือก เพื่อให้สามารถ เริ่มต้นและทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถ้าการออกแบบแม่แบบนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือจะ นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ใช้ก็ได้

รูป แสดงการเปิดแม่แบบ Excel 2007 จากปุ่มเริ่ม\สร้างเอกสาร Microsoft Office

รูป แสดงการดาวน์โหลดแม่แบบ Excel 2007 จากเว็บไซต์ของ Microsoft Office
2.2 ปุ่ม Office 
ปุ่ม Office คือ ปุ่มที่ใช้ควบคุมคำสั่งหลักเกี่ยวกับการสร้างแฟ้ม การเปิดแฟ้ม การ บันทึก การบันทึกเป็น การพิมพ์ การส่ง การจัดเตรียม การประกาศ การปิด เอกสารล่าสุด และ ตัวเลือกของ Excel

รูป แสดงปุ่ม Office ที่ใช้ควบคุมคำสั่งหลัก

2.3 แถบเครื่องมือใหม่ที่ใช้ควบคุมคำสั่งในโปรแกรม 
2.3.1 Ribbon 
Ribbon คือ แถบเครื่องมือชุดคำสั่งที่แบ่งเป็นแท็บ ๆ อยู่ส่วนบนของหน้าต่าง รองจากแถบชื่อ (Title bar) ซึ่งมาแทนแถบเมนูในโปรแกรมเก่า

รูป แสดง Ribbon แถบเครื่องมือชุดคำสั่ง

2.3.2 ปุ่มคำสั่ง 
ปุ่มคำสั่ง เป็นปุ่มไอคอนที่ใช้สั่งงาน ซึ่งอยู่ในกลุ่มชุดคำสั่ง บนแท็บคำสั่ง
2.3.3 แท็บคำสั่ง 
แท็บคำสั่ง คำสั่งต่าง ๆ จะแสดงและรวมอยู่ด้วยกัน เพื่อให้สามารถหาปุ่มคำสั่ง ที่ต้องการใช้ได้ตามต้องการ เริ่มต้นมีอยู่ 7 แท็บ คือ หน้าแรก แทรก เค้าโครงหน้ากระดาษ สูตร ข้อมูล ตรวจทาน และมุมมอง ที่แท็บชุดคำสั่งใด ๆ มีจุดมุมทางด้านล่างขวามือ จะเป็นที่เปิดกล่อง โต้ตอบของชุดคำสั่งนั้น ๆ

รูป แสดงแท็บชุดคำสั่งคำสั่ง และจุดมุมทางด้านล่างขวามือที่เปิดกล่องโต้ตอบ

2.3.4 แท็บคำสั่งตามบริบท 
แท็บคำสั่งตามบริบท เป็นแท็บคำสั่งที่จะปรากฏตามบริบทของงาน คือวัตถุที่ กำลังทำงานด้วยหรืองานที่กำลังทำอยู่ แท็บนี้จะมีสีสันและมีคำสั่งที่เหมาะสำหรับนำไปใช้กับสิ่งที่ เรากำลังทำงานอยู่มากที่สุด

รูป แสดงแท็บคำสั่งตามบริบท ที่ปรากฏตามบริบทของงาน

2.3.5 แถบเครื่องมือด่วน 
แถบเครื่องมือด่วน เป็นแถบเครื่องมือมาตรฐานเดียวที่ปรากฏใน Ribbon เพื่อให้เข้าถึงคำสั่งที่จำเป็นมากที่สุดอย่างทันใจในคลิกเดียว เช่น บันทึก เลิกทำ ฯลฯ โดยสามารถ เพิ่มเติมคำสั่งได้ จากรายการคำสั่งเพิ่มเติม... และการเพิ่มโดยคลิกขวาที่ปุ่มคำสั่งของ Ribbon

รูป แสดงแถบเครื่องมือด่วนที่ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และการเพิ่มคำสั่งในแถบเครื่องมือด่วน

2.3.6 แกลเลอรี 
แกลเลอรี เป็นตัวควบคุมใหม่ที่จะแสดงตัวเลือกแบบเห็นภาพ เพื่อให้เรา สามารถเห็นผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ แกลเลอรีจะถูกใช้ทั่วไปในส่วนติดต่อของ 2007 Microsoft Office system แกลเลอรีทำให้เราสามารถเลือกผลลัพธ์ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องทำอย่างไรถึง จะได้ผลลัพธ์นั้น

รูป แสดงแกลเลอรี ตัวควบคุมใหม่ที่แสดงตัวเลือกแบบเห็นภาพ เมื่อนำเมาส์เลื่อนผ่านไป
2.3.7 แถบเครื่องมือขนาดเล็ก 
แถบเครื่องมือขนาดเล็ก มีองค์ประกอบคล้ายกับแถบเครื่องมือ โดยจะปรากฏ เป็นแบบโปร่งใสอยู่เหนือข้อความที่เราเลือก เมื่อเลื่อนเมาส์ไปที่แถบเครื่องมือ จะแสดงให้เห็นชัด ขึ้น เพื่อให้เราสามารถใช้การจัดรูปแบบได้อย่างง่ายดาย เช่น ตัวหนาหรือตัวเอียง หรือเปลี่ยนแบบ อักษร

รูป แสดงแถบเครื่องมือขนาดเล็กโปร่งใสอยู่เหนือข้อความที่เลือก
2.3.8 แทรกแผ่นงาน 
แทรกแผ่นงาน ซึ่งแผ่นงานเป็นพื้นที่การพิมพ์งาน ที่ให้มาเริ่มต้น 3 แผ่นงาน แต่สามารถเพิ่มแผ่นงานได้โดยง่าย เมื่อคลิกแผ่นงานแทรกแผ่นงานที่ได้ให้มาใหม่

รูป แสดงแทรกแผ่นงานได้โดยง่าย
2.3.9 แถบสถานะ 
แถบสถานะ คือ แถบที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าต่าง ซึ่งจะแสดงข้อมูลสถานะ ทั้ง ยังมีปุ่มต่าง ๆ ของมุมมองทางด้านขวามือที่ใช้สลับมุมมอง และมุมมองย่อ/ขยายได้

รูป แสดงแถบสถานะและมุมมอง

3. คุณล ักษณะใหม่
3.1 ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ 
ส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ที่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์จะช่วยให้เราทำงานใน Microsoft Excel ได้ อย่างง่ายดาย คำสั่งและคุณลักษณะต่างๆ ที่มักจะถูกฝังอยู่ในเมนูและแถบเครื่องมือที่ซับซ้อน ต่อไปนี้จะค้นหาได้งายขึ้นบนแท็บที่มุ่งเน้นที่งานซึ่งมีกลุ่มของคำสั่งและคุณลักษณะแบ่งตาม ตรรกะ หลาย ๆ กล่องโต้ตอบจะถูกแทนที่ด้วยแกลเลอรีแบบหล่นลงที่แสดงตัวเลือกที่พร้อมใช้งาน และคำแนะนำเครื่องมือแบบอธิบายหรือการแสดงตัวอย่างก็จะมีจัดเตรียมไว้ให้เพื่อช่วยให้เราเลือก ตัวเลือกได้อย่างถูกต้อง 
ไม่ว่าเราจะทำกิจกรรมใดในส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดรูปแบบหรือการ วิเคราะห์ข้อมูล Excel จะแสดงเครื่องมือที่มีประโยชน์ที่สุดที่จะทำให้งานนั้นเสร็จสมบูรณ์
3.2 แถวและคอลัมน์เพิ่มเติมและข้อจำกัดใหม่อื่นๆ 
เพื่อจะทำให้เราสามารถสำรวจปริมาณข้อมูลจำนวนมากในแผ่นงาน Excel 2007 สนับสนุนแถวถึง 1 ล้านแถว และคอลัมน์ถึง 16,000 คอลัมน์ต่อแผ่นงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้น ตาราง Excel 2007 คือ 1,048,576 แถวกับ 16,384 คอลัมน์ ซึ่งให้เรามีแถวมากกว่าที่มีใน Excel 2003 ถึง 1,500 เปอร์เซ็นต์และคอลัมน์มากกว่าถึง 6,300 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับเราที่กำลังนึกสงสัย คอลัมน์จะสิ้นสุดที่ XFD แทนที่จะเป็น IV 
แทนที่จะเป็นการจัดรูปแบบ 4,000 ชนิด ขณะนี้เราสามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนใน สมุดงานเดียวกัน และจำนวนการอ้างอิงเซลล์ต่อเซลล์ก็เพิ่มขึ้นจาก 8,000 เป็นจำนวนจำกัดตาม หน่วยความจำที่มีอยู่ 
เมื่อต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Excel การจัดการหน่วยความจำได้เพิ่มขึ้นจาก หน่วยความจำ 1 กิกะไบต์ ใน Excel 2003 เป็น 2 กิกะไบต์ใน Excel 2007 
นอกจากนี้ เรายังจะพบว่าการคำนวณแผ่นงานที่มีสูตรมากมายทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น เนื่องจาก Excel 2007 สนับสนุนตัวประมวลผลแบบคู่และชิปเซตแบบหลายเธรด 
Excel 2007 ยังสนับสนุนสีถึง 16 ล้านสีอีกด้วย
3.3 ชุดรูปแบบของ Office และลักษณะของ Excel 2007 
ใน Excel 2007 เราสามารถจัดรูปแบบข้อมูลในแผ่นงานของเราได้อย่างรวดเร็วด้วย การนำชุดรูปแบบไปใช้ และโดยใช้ลักษณะที่เฉพาะเจาะจง ชุดรูปแบบต่างๆ สามารถใช้ร่วมกันได้ ตามโปรแกรม 2007 Office release อื่น ๆ เช่น Microsoft Office Word และ Microsoft Office PowerPoint เป็นต้น ในขณะที่ลักษณะต่าง ๆ ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบของ
1 http://office.microsoft.com/th-th/
การนำชุดรูปแบบไปใช้ ชุดรูปแบบคือชุดของสี แบบอักษร เส้น และการเติมลักษณะ พิเศษที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถนำไปใช้กับทั้งสมุดงานของเราหรือกับรายการที่ เฉพาะเจาะจงได้ เช่น แผนภูมิหรือตาราง เป็นต้น ชุดรูปแบบสามารถช่วยให้เราสามารถสร้าง เอกสารที่มีรูปลักษณ์สวยงาม โดยบริษัทของเราอาจมีชุดรูปแบบขององค์กรซึ่งเราสามารถใช้ได้ หรือเราสามารถเลือกจากชุดรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าที่มีอยู่ใน Excel ได้ นอกจากนี้ การสร้าง ชุดรูปแบบของเราเองสำหรับรูปลักษณ์แบบเดียวกันและมีลักษณะเป็นมืออาชีพที่สามารถนำไปใช้ กับสมุดงาน Excel ของเราทั้งหมดและเอกสาร 2007 Office release อื่นๆ ยังสามารถทำได้อย่าง ง่ายดายอีกด้วย เมื่อเราสร้างชุดรูปแบบ สี แบบอักษร และการเติมลักษณะพิเศษสามารถ เปลี่ยนแปลงแบบแยกกันต่างหากได้เพื่อให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเลือกเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่ง หรือตัวเลือกทั้งหมดได้ 
การใช้ลักษณะ ลักษณะ คือรูปแบบที่ยึดตามชุดรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าที่เรา สามารถนำไปใช้เปลี่ยนแปลงลักษณะหน้าตาของตาราง แผนภูมิ PivotTables รูปร่าง หรือ ไดอะแกรมของ Excel ได้ ถ้าลักษณะที่กำหนดไว้ล่วงหน้าที่มีอยู่แล้วภายในไม่ตรงกับความต้องการ ของเรา เราสามารถกำหนดลักษณะเองได้ สำหรับแผนภูมิต่าง ๆ เราสามารถเลือกจากลักษณะที่ กำหนดไว้ล่วงหน้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เราจะไม่สามารถสร้างลักษณะแผนภูมิของเราเองได้ 
แบบเดียวกับใน Excel 2003 ลักษณะเซลล์ถูกใช้เพื่อจัดรูปแบบเซลล์ที่เลือก แต่ขณะนี้ เราสามารถนำลักษณะเซลล์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยลักษณะเซลล์ส่วนใหญ่ ไม่ได้ยึดตามชุดรูปแบบที่นำไปใช้กับสมุดงานของเรา และเราสามารถสร้างลักษณะเซลล์ของเราเอง ได้อย่างง่ายดาย
3.4 การจัดรูปแบบตามเงื่อนไขเพิ่มเติม 
ใน 2007 Office release เราสามารถใช้การจัดรูปแบบตามเงื่อนไขเพื่อใส่คำอธิบาย ประกอบแบบมองเห็นได้ให้กับข้อมูลของเราเพื่อวัตถุประสงค์ทั้งในการวิเคราะห์และการนำเสนอ เมื่อต้องการค้นหาข้อยกเว้นและกำหนดตำแหน่งแนวโน้มที่สำคัญในข้อมูลของเราอย่างง่ายดาย เรา สามารถใช้และจัดการกับกฎการจัดรูปแบบตามเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งนำการจัดรูปแบบที่มองเห็นได้ แบบเพิ่มเติมมาใช้กับข้อมูลที่ตรงกับกฎนั้น ๆ ในรูปแบบของการไล่ระดับสี แถบข้อมูล และชุดไอ คอนได้ นอกจากนี้ การจัดรูปแบบตามเงื่อนไขยังง่ายต่อการนำไปใช้อีกด้วย เพียงการคลิกเพียงไม่กี่ ครั้ง เราก็สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ในข้อมูลของเราซึ่งเราสามารถใช้เพื่อทำการวิเคราะห์ได้
3.5 การเขียนสูตรอย่างง่าย 
การปรับปรุงดังต่อไปนี้ทำให้การเขียนสูตรใน Office Excel 2007 ง่ายยิ่งขึ้น 
แถบสูตรแบบปรับขนาดได้ แถบสูตรจะปรับขนาดให้รองรับสูตรที่ยาวและซับซ้อน ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งป้องกันไม่ให้สูตรครอบคลุมข้อมูลอื่นในแผ่นงานของเรา เรายังสามารถเขียน สูตรได้ยาวขึ้นโดยมีระดับที่ซ้อนกันมากกว่าที่เราสามารถทำได้ใน Excel รุ่นก่อนหน้า 
ฟังก์ชันการทำให้สมบูรณ์อัตโนมัติ ด้วยฟังก์ชันการทำให้สมบูรณ์อัตโนมัติ เราจึง สามารถเขียนไวยากรณ์ของสูตรที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว จากการตรวจพบฟังก์ชันที่เราต้องการ ใช้เพื่อช่วยทำให้อาร์กิวเมนต์ของสูตรสมบูรณ์อย่างง่ายๆ ทำให้เราได้สูตรที่เหมาะสมตั้งแต่แรกและ ในทุกครั้ง 
การอ้างอิงที่มีแบบแผน นอกจากการอ้างอิงเซลล์ เช่น A1 และ R1C1 แล้ว Office Excel 2007 ยังมีการอ้างอิงที่มีแบบแผนที่อ้างถึงช่วงและตารางที่มีชื่อในสูตรเช่นกัน 
การเข้าถึงช่วงที่มีชื่ออย่างง่าย โดยใช้ตัวจัดการชื่อของ Office Excel 2007 เรา สามารถจัดระเบียบ ปรับปรุง และจัดการช่วงที่มีชื่อหลาย ๆ ช่วงในตำแหน่งที่ตั้งส่วนกลาง ซึ่งช่วย ให้บุคคลใดก็ตามที่ต้องการทำงานบนแผ่นงานของเราสามารถแปลสูตรและข้อมูลของแผ่นงานได้
3.6 สูตร OLAP และฟังก์ชันคิวบ์ใหม่ 
เมื่อเราทำงานกับฐานข้อมูลหลายมิติ (เช่น บริการการวิเคราะห์ SQL Server) ใน Office Excel 2007 เราสามารถใช้สูตร OLAP เพื่อสร้างรายงานที่ถูกผูกไว้กับข้อมูล OLAP โดยมี รูปแบบอิสระและซับซ้อนได้ ฟังก์ชันคิวบ์ใหม่จะใช้เพื่อแยกข้อมูล OLAP (ชุดข้อมูลและค่า) จาก บริการการวิเคราะห์และแสดงข้อมูล OLAP ในเซลล์ สูตร OLAP อาจถูกสร้างขึ้นเมื่อเราแปลงสูตร ใน PivotTable เป็นสูตรในเซลล์ หรือเมื่อเราใช้การทำให้สมบูรณ์อัตโนมัติสำหรับอาร์กิวเมนต์ของ ฟังก์ชันคิวบ์เมื่อเราพิมพ์สูตรต่างๆ
3.7 การเรียงลำดับและการกรองที่ปรับปรุงขึ้น 
ใน Office Excel 2007 เราสามารถจัดเรียงข้อมูลในแผ่นงานของเราได้อย่างรวดเร็ว เพื่อค้นหาคำตอบที่เราต้องการโดยใช้การกรองและการเรียงลำดับที่ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมแล้ว ตัวอย่างเช่น ขณะนี้เราสามารถเรียงลำดับข้อมูลตามสีและตามระดับมากกว่า 3 (และมากถึง 64) ระดับ นอกจากนี้ เรายังสามารถกรองข้อมูลตามสีหรือตามวันที่ แสดงรายการมากกว่า 1,000 รายการในรายการแบบหล่นลงของตัวกรองอัตโนมัติ เลือกหลายรายการเพื่อกรอง และกรองข้อมูล ใน PivotTable ได้อีกด้วย
3.8 การเพิ่มคุณสมบัติให้กับตารางของ Excel 
ใน Office Excel 2007 เราสามารถใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่เพื่อสร้าง จัดรูปแบบ และ ขยายตาราง Excel (หรือคือรายการ Excel ใน Excel 2003) ได้อย่างรวดเร็วเพื่อจัดระเบียบข้อมูลใน แผ่นงานของเราเพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น หน้าที่การใช้งานใหม่หรือที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับ ตารางนั้นรวมถึงคุณลักษณะต่อไปนี้ 
แถวส่วนหัวของตาราง แถวส่วนหัวของตารางสามารถเปิดหรือปิดได้ เมื่อส่วนหัว ของตารางถูกแสดง ส่วนหัวของตารางยังคงมองเห็นได้พร้อมกับข้อมูลในคอลัมน์ของตารางด้วย การแทนที่ส่วนหัวของแผ่นงานเมื่อเราเลื่อนไปเรื่อยๆ ในตารางแบบยาว 
คอลัมน์จากการคำนวณ คอลัมน์จากการคำนวณจะใช้สูตรเดียวที่จะปรับไปตามแถว แต่ละแถว และยังขยายโดยอัตโนมัติเพื่อรวมแถวเพิ่มเติม เพื่อให้สูตรถูกขยายไปยังแถวเหล่านั้นได้ ทันที สิ่งที่เราต้องทำทั้งหมดคือ ใส่สูตรเพียงครั้งเดียว ซึ่งนั่นก็คือเราไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง 'เติม' หรือ 'คัดลอก' 
การกรองอัตโนมัติแบบอัตโนมัติ ตัวกรองอัตโนมัติจะถูกเปิดอยู่ตามค่าเริ่มต้นใน ตารางเพื่อเปิดใช้งานการเรียงลำดับและการกรองข้อมูลในตารางอย่างมีประสิทธิภาพ 
การอ้างอิงที่มีแบบแผน การอ้างอิงชนิดนี้อนุญาตให้เราใช้ชื่อส่วนหัวของคอลัมน์ ตารางในสูตรแทนการใช้การอ้างอิงเซลล์ เช่น A1 หรือ R1C1 
แถวผลรวม ในแถวผลรวม ขณะนี้เราสามารถใช้สูตรแบบกำหนดเองและรายการ ข้อความได้ 
ลักษณะตาราง เราสามารถนำลักษณะตารางไปใช้ในการเพิ่มการจัดรูปแบบที่มี คุณภาพระดับนักออกแบบและเป็นมืออาชีพได้อย่างรวดเร็ว ถ้าลักษณะแถวแบบอื่นถูกเปิดใช้งาน ในตาราง Excel จะคงกฎเกี่ยวกับลักษณะแบบอื่นนั้นตลอดการกระทำที่อาจทำลายเค้าโครงนี้ได้ เช่นการกรอง การซ่อนแถว หรือการจัดเรียงแถวและคอลัมน์ใหม่ด้วยตนเอง
3.9 ลักษณะหน้าตาใหม่ของแผนภูมิ 
ใน Excel 2007 เราสามารถใช้เครื่องมือการสร้างแผนภูมิใหม่เพื่อสร้างแผนภูมิที่มี ลักษณะเป็นมืออาชีพที่สื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างง่ายดาย และโดยตามชุด รูปแบบที่ถูกนำไปใช้กับสมุดงานของเรา ลักษณะหน้าตาใหม่ที่ทันสมัยของแผนภูมินั้นรวมถึง ลักษณะพิเศษ เช่น สามมิติ ความโปร่งใส และเงาจาง เป็นต้น 
ส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ช่วยให้การสำรวจชนิดแผนภูมิที่มีอยู่ง่ายขึ้น เพื่อให้เราสามารถ สร้างแผนภูมิที่เหมาะสมกับข้อมูลของเรา นอกจากนี้ นอกจากนี้ ลักษณะและเค้าโครงแผนภูมิที่ กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นจำนวนมากยังมีเตรียมไว้ให้เพื่อให้เรานำรูปแบบที่สวยงามไปใช้ได้อย่าง รวดเร็วและมีรายละเอียดที่เราต้องการในแผนภูมิของเราอีกด้วย 
ตัวเลือกองค์ประกอบแผนภูมิที่มองเห็นได้ นอกจากเค้าโครงด่วนและรูปแบบด่วน แล้ว ขณะนี้เราสามารถใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงทุกองค์ประกอบของแผนภูมิได้อย่าง รวดเร็วเพื่อนำเสนอข้อมูลของเราได้อย่างดีที่สุด และด้วยเพียงการคลิกไม่กี่ครั้ง เราสามารถเพิ่มและ เอาชื่อแผนภูมิ คำอธิบายแผนภูมิ ป้ายชื่อข้อมูล เส้นแนวโน้ม และองค์ประกอบแผนภูมิอื่นๆ ได้ 
ลักษณะหน้าตาที่ทันสมัยด้วย OfficeArt เนื่องจากแผนภูมิใน Excel 2007 ถูกวาดด้วย OfficeArt ดังนั้นเกือบทุกสิ่งที่เราสามารถทำกับรูปร่าง OfficeArt จึงสามารถทำได้กับแผนภูมิและ 
เส้นและแบบอักษรที่ชัดเจน เส้นในแผนภูมิจะปรากฏรอยขรุขระน้อยกว่า และแบบ อักษร ClearType จะถูกนำมาใช้กับข้อความเพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่าน 
สีที่มากกว่าที่เคยมี เราสามารถเลือกจากสีชุดรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้อย่าง ง่ายดายและเปลี่ยนความแตกต่างของความเข้มสี สำหรับตัวควบคุมเพิ่มเติม เรายังสามารถเพิ่มสีของ เราเองด้วยการเลือกจาก 16 ล้านสีในกล่องโต้ตอบสี ได้อีกด้วย 
แม่แบบแผนภูมิ การบันทึกแผนภูมิโปรดของเราเป็นแม่แบบแผนภูมิยิ่งเป็นเรื่องง่าย ขึ้นในส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่
3.10 การสร้างแผนภูมิที่ใช้ร่วมกัน 
การใช้แผนภูมิ Excel ในโปรแกรมอื่น ใน 2007 Office release การสร้างแผนภูมิจะถูก ใช้ร่วมกันระหว่าง Excel, Word และ PowerPoint แทนที่จะใช้คุณลักษณะการสร้างแผนภูมิที่มีอยู่ ใน Microsoft Graph ขณะนี้ Word และ PowerPoint ได้รวมคุณลักษณะการสร้างแผนภูมิที่มี ประสิทธิภาพของ Excel เข้าไว้ด้วยกัน และเนื่องจากแผ่นงาน Excel ถูกใช้เป็นแผ่นข้อมูลแผนภูมิ สำหรับแผนภูมิใน Word และ PowerPoint การสร้างแผนภูมิที่ใช้ร่วมกันจึงมีหน้าที่การใช้งานของ Excel มากมาย รวมทั้งการใช้สูตร การกรอง การเรียงลำดับ และความสามารถในการเชื่อมโยง แผนภูมิไปยังแหล่งข้อมูลภายนอก เช่น Microsoft SQL Server และบริการการวิเคราะห์ (OLAP) เพื่อให้ได้ข้อมูลล่าสุดในแผนภูมิของเรา สำหรับแผ่นงาน Excel ที่มีข้อมูลแผนภูมิของเราอาจเก็บอยู่ ในเอกสาร Word หรืองานนำเสนอ PowerPoint หรือในแฟ้มที่แยกต่างหากเพื่อลดขนาดเอกสารของ เรา 
การคัดลอกแผนภูมิไปยังโปรแกรมอื่น แผนภูมิสามารถถูกคัดลอกและวางข้าม ระหว่างเอกสารหรือจากโปรแกรมหนึ่งไปยังโปรแกรมอื่นได้อย่างง่ายดาย เมื่อเราคัดลอกแผนภูมิ จาก Excel ไปยัง Word หรือ PowerPoint แผนภูมิจะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ตรงตามเอกสาร Word หรืองานนำเสนอ PowerPoint โดยอัตโนมัติ แต่เรายังสามารถเก็บรูปแบบแผนภูมิ Excel ไว้ ได้ด้วย ข้อมูลในแผ่นงาน Excel สามารถฝังตัวในเอกสาร Word หรืองานนำเสนอ PowerPoint ได้ ทั้งนี้เราสามารถทิ้งไว้ในแฟ้มต้นฉบับ Excel ได้เช่นกัน 
การทำให้แผนภูมิเคลื่อนไหวใน PowerPoint ใน PowerPoint เราสามารถใช้ ภาพเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายขึ้นเพื่อเน้นข้อมูลในแผนภูมิที่ใช้ใน Excel เราสามารถทำให้ทั้ง แผนภูมิหรือข้อความคำอธิบายแผนภูมิและป้ายชื่อแกนเคลื่อนไหวได้ ในแผนภูมิคอลัมน์ เรา สามารถแม้แต่การทำให้คอลัมน์แต่ละคอลัมน์เคลื่อนไหวเพื่อแสดงแต่ละประเด็นได้ดียิ่งขึ้น คุณลักษณะภาพเคลื่อนไหวนั้นหาได้ง่าย และเราสามารถควบคุมได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราสามารถ
3.11 PivotTables ที่ใช้งานง่าย 
ใน Excel 2007 นั้น PivotTable จะใช้งานง่ายกว่าใน Excel รุ่นก่อนหน้า โดยใช้ส่วน ติดต่อผู้ใช้ใหม่ของ PivotTable ข้อมูลต่างๆ ที่เราต้องการแสดงเกี่ยวกับข้อมูลของเราจะแสดงขึ้นมา ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง เราไม่ต้องลากข้อมูลไปยังโซนที่จะปล่อยซึ่งมักจะไม่ใช่เป้าหมายง่ายๆ อีกต่อไป เราพียงแค่เลือกเขตข้อมูลที่ต้องการดูในรายการเขตข้อมูล PivotTable ใหม่แทนเท่านั้น 
และหลังจากเราสร้าง PivotTable แล้ว เราสามารถใช้ประโยชน์ของคุณลักษณะที่ ปรับปรุงหรือคุณลักษณะใหม่อื่นๆ มากมายเพื่อสรุป วิเคราะห์ และจัดรูปแบบข้อมูล PivotTable ของเราได้ 
การใช้การเลิกทำใน PivotTable ขณะนี้เราสามารถเลิกทำการกระทำส่วนใหญ่ที่เรา ได้ทำเพื่อสร้างหรือจัดเรียง PivotTable ใหม่ได้ 
ตัวบ่งชี้การเข้าถึงรายละเอียดมากขึ้นหรือน้อยลง ตัวบ่งชี้เหล่านี้ใช้เพื่อระบุว่าเรา สามารถขยายหรือยุบส่วนต่างๆ ของ PivotTable เพื่อดูข้อมูลที่เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงได้หรือไม่ 
การเรียงลำดับและการกรอง ขณะนี้การเรียงลำดับนั้นทำได้ง่ายเพียงแค่เลือกรายการ ในคอลัมน์ที่เราต้องการเรียงลำดับและใช้ปุ่ม 'เรียงลำดับ' เราสามารถกรองข้อมูลได้โดยใช้ตัวกรอง PivotTable เช่น 'มากกว่า' 'เท่ากับ' หรือ 'มี' 
การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข เราสามารถนำการจัดรูปแบบตามเงื่อนไขไปใช้กับ Pivot Table ของ Excel 2007 ได้ตามเซลล์หรือตามจุดตัดของเซลล์ 
ลักษณะและเค้าโครงของ PivotTable เช่นเดียวกับที่เราสามารถทำได้กับตารางและ แผนภูมิ Excel เราสามารถนำลักษณะที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือที่กำหนดเองไปใช้กับ PivotTable ได้อย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนเค้าโครงของ PivotTable ก็ยังทำได้ง่ายขึ้นในส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่นี้ 
PivotChart ด้วยลักษณะเดียวกันกับ PivotTable นั้น PivotChart จะสร้างขึ้นได้ง่าย กว่ามากในส่วนติดต่อผู้ใช้นี้ การปรับปรุงการกรองทั้งหมดยังพร้อมให้ใช้งานสำหรับ PivotChart อีกด้วย เมื่อเราสร้าง PivotChart เครื่องมือ PivotChart ที่เฉพาะเจาะจงและเมนูบริบทจะพร้อมให้ใช้ งานเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในแผนภูมิได้ เรายังสามารถเปลี่ยนเค้าโครง ลักษณะ และ รูปแบบของแผนภูมิหรือองค์ประกอบต่างๆ ด้วยวิธีเดียวกันกับที่เราสามารถทำได้กับแผนภูมิทั่วไป ใน Excel 2007 การจัดรูปแบบแผนภูมิที่เรานำไปใช้จะสงวนไว้เมื่อเราเปลี่ยนแปลง PivotChart ซึ่ง เป็นการปรับปรุงจากวิธีการทำงานเดิมใน Excel รุ่นก่อนหน้า
3.12 การเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกอย่างรวดเร็ว 
ใน Excel 2007 เราไม่จำเป็นต้องทราบชื่อเซิร์ฟเวอร์หรือฐานข้อมูลของแหล่งข้อมูล ขององค์กรอีกต่อไป เพราะเราสามารถใช้ 'เปิดใช้ด่วน' เพื่อเลือกจากรายการแหล่งข้อมูลที่ผู้ดูและ
3.13 รูปแบบแฟ้มแบบใหม่ 
รูปแบบแฟ้มจาก XML ใน 2007 Microsoft Office system Microsoft ได้แนะนำ รูปแบบแฟ้มใหม่สำหรับ Word, Excel และ PowerPoint ที่เรียกว่ารูปแบบ Microsoft Office Open XML โดยรูปแบบแฟ้มแบบใหม่เหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการรวมกับแหล่งข้อมูล ภายนอก และยังให้ขนาดแฟ้มที่ลดลงรวมทั้งการกู้คืนข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงอีกด้วย ใน Office Excel 2007 รูปแบบเริ่มต้นสำหรับสมุดงาน Excel จะเป็นรูปแบบแฟ้ม Excel 2007 จาก XML (.xlsx) ส่วนรูปแบบจาก XML อื่นที่มีอยู่ได้แก่ รูปแบบแฟ้ม Excel 2007 ที่เปิดใช้งานในแมโครและ จาก XML (.xlsm) รูปแบบแฟ้ม Office Excel 2007 สำหรับแม่แบบ Excel (.xltx) และรูปแบบแฟ้ม Office Excel 2007 ที่เปิดใช้งานในแมโครสำหรับแม่แบบ Excel (.xltm) 
รูปแบบแฟ้ม Excel 2007 แบบไบนารี นอกจากรูปแบบแฟ้มจาก XML แบบใหม่แล้ว Excel 2007 ยังแนะนำรุ่นไบนารีของรูปแบบแฟ้มที่บีบอัดแบบเป็นส่วนๆ สำหรับสมุดงานขนาด ใหญ่หรือซับซ้อนอีกด้วย รูปแบบแฟ้ม Excel 2007 แบบไบนารี (หรือ BIFF12) (.xls) นี้สามารถใช้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดและมีความเข้ากันได้แบบย้อนกลับ 
ความเข้ากันได้กับ Excel รุ่นก่อนหน้า เราสามารถตรวจสอบสมุดงาน Excel 2007 เพื่อดูว่าสมุดงานมีคุณลักษณะหรือการจัดรูปแบบที่เข้ากันไม่ได้กับ Excel รุ่นก่อนหน้าหรือไม่ เพื่อให้เราสามารถทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นสำหรับความเข้ากันได้แบบย้อนกลับที่ดีขึ้น ใน Excel รุ่นก่อนหน้า เราสามารถติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงและตัวแปลงที่ช่วยเราเปิดสมุดงาน Excel 2007 เพื่อให้เราสามารถแก้ไข บันทึก และเปิดสมุดงานนั้นอีกครั้งได้ใน Excel 2007 โดยไม่สูญเสีย คุณลักษณะหรือหน้าที่การใช้งานที่เฉพาะเจาะจงกับ Excel 2007 ไป
3.14 ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีขึ้น 
มุมมองเค้าโครงหน้ากระดาษ นอกจากมุมมอง ปกติ และมุมมอง แสดงตัวอย่างตัว แบ่งหน้า แล้ว Excel 2007 ยังมีมุมมอง เค้าโครงหน้ากระดาษ ด้วย เราสามารถใช้มุมมองนี้สร้าง แผ่นงานในขณะที่คอยดูว่าแผ่นงานนั้นจะมีลักษณะหน้าตาอย่างไรในรูปแบบที่พิมพ์ออกมา ใน มุมมองนี้ เราสามารถทำงานกับส่วนหัว ส่วนท้าย และการตั้งค่าระยะขอบหน้ากระดาษที่เหมาะสม ในแผ่นงาน และวางวัตถุ เช่น แผนภูมิหรือรูปร่าง ในตำแหน่งที่เราต้องการวางได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าถึงตัวเลือกการตั้งค่าหน้ากระดาษทั้งหมดบนแท็บ เค้าโครง หน้ากระดาษ ในส่วนติดต่อผู้ใช้ใหม่ได้ง่ายดายเพื่อให้เราสามารถระบุตัวเลือก เช่นการวางแนว หน้ากระดาษ ได้อย่างรวดเร็ว ดั้งนั้นจึงทำให้ง่ายที่จะเห็นสิ่งที่จะพิมพ์บนทุกๆ หน้า ซึ่งจะช่วยให้เรา หลีกเลี่ยงการต้องพยายามพิมพ์หลายครั้งและไม่มีข้อมูลที่ตัดทอนในสิ่งที่พิมพ์ออกมา 
การบันทึกเป็นรูปแบบ PDF และ XPS เราสามารถบันทึกเป็นแฟ้ม PDF หรือ XPS จากโปรแกรม 2007 Microsoft Office system เฉพาะเมื่อเราติดตั้ง Add-in สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การเปิดใช้การสนับสนุนรูปแบบแฟ้มอื่น เช่น PDF และ XPS (แสดงเป็นภาษาอังกฤษ)
3.15 วิธีการใหม่ในการใช้งานร่วมกัน 
การใช้ Excel Services เพื่อใช้งานของเราร่วมกัน ถ้าเราเข้าถึง Excel Services ได้ เรา สามารถใช้ Excel Services เพื่อใช้ข้อมูลแผ่นงาน Excel 2007 ของเราร่วมกับผู้ใช้รายอื่นๆ ได้ เช่น ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นในหน่วยงานของเรา เป็นต้น ใน Excel 2007 เราสามารถบันทึกสมุดงานเป็น Excel Services และระบุข้อมูลแผ่นงานที่ต้องการให้ผู้ใช้รายอื่นมองเห็นได้ ในเบราว์เซอร์ (เบราว์ เซอร์: ซอฟต์แวร์ที่ตีความแฟ้ม HTML จัดรูปแบบและแสดงผลแฟ้ม HTML ให้เป็นเว็บเพจ เว็บเบ ราว์เซอร์ เช่น Windows Internet Explorer จะสามารถตามการเชื่อมโยงหลายมิติ ถ่ายโอนแฟ้ม และ ทำงานกับแฟ้มเสียงหรือวิดีโอที่ฝังอยู่ในเว็บเพจนั้นได้) ผู้ใช้สามารถใช้ Microsoft Office Excel Web Access เพื่อแสดง วิเคราะห์ พิมพ์และแยกข้อมูลแผ่นงานนี้ได้ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสร้าง Snapshot แบบคงที่ของข้อมูลในช่วงเวลาปกติหรือตามที่ต้องการได้ Office Excel Web Access ทำ ให้ง่ายต่อการทำกิจกรรม เช่น การเลื่อน การกรอง การเรียงลำดับ การแสดงแผนภูมิ และการใช้การ เข้าถึงรายละเอียดใน PivotTables อีกทั้งเรายังสามารถเชื่อมต่อ Excel Web Access Web Part กับ Web Part อื่นๆ เพื่อแสดงข้อมูลในวิธีอื่น และเมื่อมีสิทธิ์ที่เหมาะสม ผู้ใช้ Excel Web Access สามารถเปิดสมุดงานใน Excel 2007 เพื่อให้สามารถใช้ Excel ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อ วิเคราะห์และทำงานกับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เองถ้าผู้ใช้ได้ติดตั้ง Excel ไว้ 
การใช้วิธีนี้เพื่อใช้งานของเราร่วมกันทำให้แน่ใจได้ว่าผู้ใช้รายอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูล รุ่นเดียวกันในตำแหน่งที่ตั้งเดี่ยว ซึ่งเราสามารถเก็บข้อมูลปัจจุบันที่มีรายละเอียดล่าสุดได้ ถ้าเรา ต้องการให้บุคคลอื่น เช่น สมาชิกในทีม ให้ข้อคิดเห็นและข้อมูลที่ปรับปรุงแล้ว เราอาจต้องการใช้ สมุดงานร่วมกันในวิธีเดียวกับที่เราทำใน Excel รุ่นก่อนหน้าเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการก่อน เราจะบันทึกลงใน Excel Services 
การใช้เซิร์ฟเวอร์การจัดการเอกสาร Excel Services สามารถรวมกับเซิร์ฟเวอร์การ จัดการเอกสารเพื่อสร้างขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องตลอดรายงานใหม่ของ Excel และการ กระทำเวิร์กโฟลว์การคำนวณสมุดงาน เช่น การแจ้งให้ทราบตามเซลล์หรือขั้นตอนเวิร์กโฟลว์ตาม การคำนวณที่ซับซ้อนของ Excel นอกจากนี้เรายังสามารถใช้เซิร์ฟเวอร์การจัดการเอกสารเพื่อจัด กำหนดการการคำนวณตัวแบบของสมุดงานที่ซับซ้อนในเวลากลางคืนได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

พรบ.คอมพิวเตอร์

พรบ.คอมพิวเตอร์
                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควร
มีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

                มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

                มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า
                อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
                 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม
ทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
                “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึง
แหล่งกำเนิดต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
ของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
                “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
                                (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
                โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                                (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
                “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ
ออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว
ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น
มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา
ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

                มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
                                (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง                 และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                                (๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์                 หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ                 ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาท
                ถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

                มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
                                (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์
                อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
                                (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ                 โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
                                (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
                                (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ                 ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
                                (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

                มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

                มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏ
เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูล
คอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิด
ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

                มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
                                (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
                                (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหาย
ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
    มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
                                (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ
                ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
                                (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์
                หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
                                (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครอง
                หรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี
                การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
                 ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
                                (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำ
                 ความผิดและสั่งให้บุคคลนั้น| ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
                                (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล
                 คอมพิวเตอร์ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
                                (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิด
                 และผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

                มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้อง
ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่า
บุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของ
การกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตาม
คำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้า
ในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ  (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาล
ที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือ
แสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัด
ไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบ
กำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึด
หรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

                มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

                มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

                มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

                มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

                มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

                มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

                มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศหรือข่าวสารที่ต้องการ โดยจะรวมถึง
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ในปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร การเชื่อมโยงสารสนเทศผ่านทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สิ่งที่มีค่ามากที่สุดของระบบ คือ ข้อมูลและสารสนเทศ อาจถูกจารกรรม ถูกปรับเปลี่ยน ถูกเข้าถึงโดยเจ้าของไม่รู้ตัว ถูกปิดกั้นขัดขวางให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หรือถูกทำลายเสียหายไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากบนโลกของเครือข่าย โดยเฉพาะเมื่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน มีรายละเอียดดังนี้
1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
5.ไม่ทำลายข้อมูล
6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ
8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)
11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
12.ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน
กฎหมายและศีลธรรม (Motal) เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสังคมมาช้านานเราพอเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า รัฐเป็นผู้ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับพลเมืองในอาณาเขตของรัฐ ขณะศีลธรรมเป็นข้อบัญญัติทางศาสนาซึ่งเป็นหลักความเชื่อของประชาชน จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
ลินดา เฮอร์นดอน ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ (Association of ComputerMachinery ACM Code of Conduct) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีดังนี้
1. กฏข้อบังคับทางศีลธรรมทั่วไป1. ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์ ข้อนี้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน เคารพความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งหมด ลดผลด้านลบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
2. ไม่ทำอันตรายแก่ผู้อื่น อันตรายหมายรวมถึง การบาดเจ็บหรือผลต่อเนื่องด้านลบ เช่น การสูญเสียข้อมูลอันเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา หลักการข้อนี้ห้ามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปทำอันตรายต่อผู้ใช้สาธารณชน พนักงานและนายจ้างอันตรายนี้รวมถึงการจงใจทำลายหรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ทำให้สูญเสีย หรือเสียเวลาและความพยายามของบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ทำลายไวรัสคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องรายงานสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลต่อความเสียหายของสังคมและบุคคล แม้ว่าหัวหน้างานจะไม่ลงมือแก้ไขหรือลดทอนอันตรายนั้น ก็อาจจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทราบโดยอาจอาศัยผู้ร่วมวิชาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ซื่อสัตย์และไว้วางใจได้ นักคอมพิวเตอร์ที่ซื่อสัตย์นอกจากจะไม่จงใจแอบอ้างระบบหรือการออกแบบที่หลอกลวงอันเป็นเท็จแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยอย่างเต็มที่ให้เห็นข้อจำกัดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดอีกด้วย
4. ยุติธรรมและการกระทำที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ข้อบังคับข้อนี้ใช้คุณค่าของความเสมอภาค ความใจกว้างให้อภัย เคารพในผู้อื่น ความเที่ยงธรรม การแบ่งแยกกีดกันโดยเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ความพิการ สัญชาติ หรือปัจจัยอื่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
5. ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิ์บัตร แม้ว่าสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า การละเมิดข้อตกลงการใช้สิทธิ จะได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว แม้แต่ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง การละเมิดก็ถือว่าเป็นการขัดต่อการประพฤติทางวิชาชีพ การลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์จะต้องทำโดยมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น การทำสำเนาวัสดุใด ๆ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้
6. ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องป้องกันหลักคุณธรรมของทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่างานนั้นจะไม่ได้รับการป้องกันอย่างเปิดเผยก็ตาม เช่น งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
7. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หลักการนี้ยังหมายถึง การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบเท่าที่จำเป็น มีระยะเวลากำหนดการเก็บรักษาและทิ้งอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่อการอื่นโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นมิได้
8. ให้เกียรติในการรักษาความลับ หลักแห่งความซื่อสัตย์ข้อนี้ขยายไปถึงความลับของข้อมูลที่ไม่ว่าจะแจ้งโดยเปิดเผยหรือสัญญว่าจะปกปิดเป็นความลับ หรือโดยนัยเมื่อข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้นั้นปรากฏขึ้น จริยธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องกับการเคารพข้อบังคับทั้งหลายที่เกี่ยวกับความลับของขายจ้าง ลูกค้า ผู้ใช้ เว้นเสียแต่เปิดเผยโดยกฏหมายบังคับหรือตามหลักแห่งจรรยาบรรณนี้
2. ความรับผิดชอบในวิชาชีพ1. มุ่งมั่นเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด และให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่สืบเนื่องจากระบบที่ด้อยคุณภาพ2. ได้มาและรักษาไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญแห่งวิชาชีพ3. รับรู้และเคารพกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแห่งรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ4. ยอมรับและจัดให้มีการสอบทานทางวิชาชีพ (Professional Review) 5. ให้ความเห็นประเมินระบบคอมพิวเตอร์และผลกระทบอย่างละเอียดครบถ้วน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ 6. ให้เกียรติ รักษาสัญญา ข้อตกลง และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 7. ปรับปรุงความเข้าใจของสาธารณชนต่อคอมพิวเตอร์และผลสืบเนื่อง8. เข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์และสื่บสารเฉพาะเมื่อได้รับมอบอำนาจตามหน้าที่เท่านั้นไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซอฟต์แวร์ แฟ้มข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาต
3. จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง
ผลกระทบด้านจริยธรรมและสังคมของระบบสารสนเทศ
             ระบบข้อมูลสารสนเทศนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้วย แผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย ใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประโยชน์ ซึ่งเราจะกล่าวถึงรายละเอียดในบทนี้ จริยธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญของผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกันเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้และให้ความสำคัญ
ความเข้าใจประเด็นด้านจริยธรรมและด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
            จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้องหรือไม่ถูกต้องที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] และระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างกันระหว่างบุคคลและสังคม เพราะทั้งสองสิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าความรับผิดชอบต่อสังคม แต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้องค์การการบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลขอผู้อื่นหรือของคู่แข่งขัน การตกงาน การประกอบอาชญากรรมข้อมูล ตลอดจนการเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เป็นต้น
            เทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ ทรัพย์สิน สิทธิ และความรับผิด (Obligation) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ทำให้เกิดผู้แพ้ ผู้ชนะ ผู้ได้ประโยชน์ จากภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นความรับผิดชอบด้านจริยธรรมและด้านสังคมขึ้น
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมขอผู้ใช้คอมพิวเตอร์
            การพิจารณาถึงจริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Ethical considerations) จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหลายนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรม เพราะคนเราย่อมรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกหาก ไม่มีความเที่ยงธรรมหรือซึ่งสัตย์ในเรื่องของข้อมูลข่าววารแล้วย่อมล่อแหลมต่อความเสียหายในองค์กรมีตัวอย่าง เช่น พนักงานในองค์กรได้ขายข้อมูลสำคัญของบริษัทโดยที่เขาไม่ได้คำนึงหรือรับรู้ถึงลำดับชั้นความลับข้อมูลขององค์กร และก็ไม่ได้คิดที่จะปกป้องข้อมูลขององค์กร จำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานคนดังกล่าวจะต้องมีจิตสำนึกในเรื่องการรักษาข้อมูลขององค์กรที่ตนสังกัดอยู่ ด้วยเหตุนี้จริยธรรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่มีจริยธรรมทั้งหมดจะต้องทำผิดกฎเกณฑ์การใช้ข้อมูลเสมอไป ลองพิจารณาดูตัวอย่างดังต่อไปนี้ประกอบ
(1) ผู้ใช้ทรัพยากรข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องก่ออาชญากรรมข้อมูลเสมอไป ในประเด็นนี้มีคำถามเสมอว่าผู้ใช้มีจริยธรรมมากน้อยแค่ไหน เช่น ใครบางคนใช้ซอฟต์แวร์โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าของ คือเดียงแต่ลองใช้ดูก่อนที่จะซื้อเท่านั้น ในขณะที่ผู้ขายไม่ต้องที่จะให้ใครลองใช้ก่อนซื้อ เป็นต้น
(2) การที่นักศึกษาได้ลองเข้าไปดูข้อมูลบางอย่างในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ของมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ตั้งใจ และไม่ได้คิดที่จะขโมยข้อมูลใด ๆ ในลักษณะนี้อาจจะถือได้ว่าเป็นการขาดจริยธรรมการใช้ข้อมูลใช่หรือไม่
(3) ซอฟต์แวร์ระบบใหม่ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทใด ฟ แต่ทำไม่สมบูรณ์ไม่อาจทดสอบและส่งมอบให้ได้ภายในเวลาที่สัญญาไว้ หรือส่งให้ได้แต่มีข้อผิดพลาด การที่ผู้พัฒนาผลิตซอฟต์แวร์ได้รุ่นที่ไม่สมบูรณ์เช่นนี้จำเป็นต้องบอกลูกค้าให้ชัดเจนใช้หรือไม่
            ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และปัญหาด้านจริยธรรม (Computer-related ethical issues) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและถือว่าเป็นมิติของจรรยาบรรณสำหรับผู้ทำงานกับระบบข้อมูลข่าวสารสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนด้วยกัน คือ
(1) ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
(2) ความถูกต้อง (Accuracy)
(3) ความเป็นเจ้าของ (Property)
(4) การเข้ามาใช้ข้อมูล (Access) ตารางที่ 19.1ได้สรุปความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และจริยธรรมที่พึงมี
ตาราง.1 สรุปกลุ่มหลักของความสมพันธ์ระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับจริยธรรมที่ควรมี (A summary of the major categories of computer-related ethical issues) (Parker and Case. 1993:821)
ประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Major computer ethical and legal issues)
ประเด็นจริยธรรม (Ethical issues)
ตัวอย่าง (Examples)
ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
 ความถูกต้อง (Accuracy)
ความเป็นเจ้าของ (Property)
การเข้ามาใช้ข้อมูล (Access)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูพนักงาน หรือเก็บข้อมูลของผู้ซื้อทันที ณ จุดขาย โดยที่ไม่บอกลูกค้าก่อน
การไม่ยอมรับในเครดิตของบุคคลนั้น ๆ เนื่องจากข้อมูลเก่าไม่เพียงพอหรือไม่ยอมรับเข้าทำงาน หรือเรียนต่อ เพราะข้อมูลการทำงานไม่เพียงพอหรือมีบันทึกประวัติเก่าจากตำรวจ
การมีสิทธิอันชอบธรรมในการถือครองซอฟต์แวร์ การคัดลอก (Copy) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และการลักขโมยซอฟต์แวร์
การมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอของข้อมูลในอันที่จะป้องกันคลังข้อมูลส่วนตัวและองค์กรและระดับชั้นของการเข้ามาใช้ข้อมูลของพนักงานว่าเข้ามาได้ถึงระดับใด
1.  ความเป็นส่วนตัว (Privacy) เป็นความเกี่ยวข้องกับการรวบรวมและใช้ข้อมูลสำหรับส่วนบุคคล และ เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยทังไปชาวอเมริกันถือว่าในเรื่อสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวมาก โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ หากไม่ได้รับอนุญาตแล้วจะเข้ามาสังเกตและเรียกใช้ข้อมูลไม่ได้ ทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่ถือว่าเป็นความลับส่วนบุคคลทีเดี่ยวซึ่งตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้น้อยกว่าชาวอเมริกันมาก
2.  ความถูกต้อง (Accuracy) การทำงานในองค์กรนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ การเก็บฐานข้อมูลไว้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นอาจมีข้อผิดพลาดได้ อาจจะเก็บรวบรวมข้อมุมูลที่ไม่ถูกดต้อง หรือมีการแอบเข้ามาแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องก็ได้
3.  ความเป็นเจ้าของ (Property) เนื่องจากในปัจจุบันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถแพร่กระจายไปได้ในรูปของสื่อสารแบบต่าง ๆ สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของข้อมูลและโปรแกรมอย่างถูกต้องนั้นยังเป็นคำถามที่ยาต่อการตอบในเชิงจริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาได้มีผลคุ้มครองต่อความถูกต้องของวิชาชีพและนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเขาจะมีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินชนิดอื่น ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ อย่างไรก็ตามการพิจารณาในเรื่องข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้มักเป็นเรื่องที่ชี้ชัดให้เกิดความกระจ่างได้ยาก
4.   การเข้าถึงข้อมูล (Access) ธรรมชาติขิงผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลหรือใช้ข้อมูลนั้น จะพิจารณาถึงความสามารถที่ใช้คือเอาข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรมาใช้ได้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลจะถูกจัดลำดับความสำคัญไว้ในระดับที่แตกต่างกันไป ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันจำเป็นต้องใช้รหัสพิเศษก่อนที่ผู้ใช้จะมีสิทธิใช้งาน และ สามารถใช้ได้อย่างจำกัดดังตัวอย่าง บริษัทที่มีประวัติข้อมูลลูกค้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน เจ้าของบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลูกค้าเหล่านั้นหรือไม่ และบริษัทดังกล่าวจะขายรายชื่อลูกค้าพร้อมกับรายละเอียดส่วนตัวให้กับบริษัทอื่นได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมของผู้ครอบครองข้อมูลทั้งสิ้น
แนวทางทั่วไปสำหรับการเผชิญกับการแก้ปัญหาทางด้านจริยธรรมข้อมูล (General guidelines for resolving ethical dilemmas) ในเรื่องของจริยธรรมของผู้ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดไว้ แน่นนอนตายตัวว่ามีอะไรบ้าง หากแต่ผู้ใช้และนักวิชาชีพคอมพิวเตอร์ต้องตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนหยั่งรู้ถึงความรับผิดชอบต่อการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามเราสามารถรวบรวมแนวทางทั่วไปด้านจริยธรรมเมื่อเผชิญกับปัญหาในด้านการใช้ข้อมูลสารสนเทศได้ดังนี้
(1) การกระทำใด ๆ ของเราเกี่ยวกับข้อมูลนี้ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองรอบคอบและไม่ขัดต่อกำหลักที่ว่า “เราดูแลเอาใจใส่ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนที่เราต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา” หรือไม่   
(2) พิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่จะได้ประโยชน์จากการกระทำของเราเป็นต้นว่าเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่บุคคลกลุ่มน้อยหรือได้รับประโยชน์เฉพาะตัวเราเท่านั้น
(3) การมีนโยบายบริหารและจัดการข้อมูลอย่างคงเส้นคงวาของบริษัท ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ต้องยืดไว้ซึ่งความถูกต้องและยุติธรรม รวมทั้งการไม่รับสินบนใด ๆ จากบริษัทผู้ขาย
(4) การกระทำใด ๆ ของบริษัทขัดแย้งกับจริยธรรมของการเขียนรหัสหรือไม่
แบบจำลองที่แสดงเกี่ยวกับประเด็นด้านจริยธรรม สังคม และการเมือง (A model for thinking about ethical. Social, and political issues) ทั้งสามประเด็นนี้จะมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ภาวะที่คับขันทางด้านจริยธรรมเป็นสิ่งที่ผู้จัดการทุกคนต้องเผชิญ
ทัศนะทางจริยธรรม 5 ประการ ของยุคสารสนเทศ (Five moral dimensions of the information age) มีดังนี้
1.   สิทธิด้านสารสนเทศและพันธะหน้าที่ (Information rights and obligations) สิทธิด้านสารสนเทศอะไรที่องค์การพึงมี และความรับผิดอะไรที่บุคคลและองค์การพึงมี
2.   สิทธิของทรัพย์สิน (Property rights) ในสังคมที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องสิทธิของทรัพย์สิน จะต้องพิจารณาสังคมนั้นควรจะมีการปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร
3.  ความรับผิดชอบในหน้าที่และการควบคุม (Accountability and control) การพิจารณาถึงบุคคลที่จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นอันตรายต่อสิทธิของบุคคล สิทธิของสารสนเทศ และสิทธิของทรัพย์สิน
4.   คุณภาพระบบ (System quality) เป็นการพิจารณาว่าระบบควรมีมาตรฐานและคุณภาพ เพื่อการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และความปลอดภัยของสังคม
5.  คุณภาพชีวิต (Quality of life) เป็นการพิจารณาว่าค่านิยมใดที่ควรจะรักษาไว้ในสังคมที่ใช้ข่าวสารการมีความรู้พื้นฐาน สถาบันใดที่ควรจะได้รับการปกป้องให้พ้นจากการละเมิดฝ่าฝืน การละเมิดค่านิยม และความประพฤติด้านสังคม การประพฤติเชิงสังคมอย่างไรที่ควรจะได้รับการสนับสนุนจากระบบสารสนเทศ [Information systems (IS)] ใหม่ ๆ
ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์ทัศนะทั้งหมดนี้ เราควรที่จะศึกษาแนวโน้มของระบบ และเทคโนโลยีหลักที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ด้วย
แนวโน้มของเทคโนโลยีที่สำคัญที่ทำให้เกิดประเด็นทางจริยธรรม (Key technology trends which raise ethical issues) ประเด็นด้านจริยธรรม (Ethical issues) เป็นประเด็นที่มีการค้นคว้ามาก่อนประเด็นของระบบสารสนเทศ [Information System (IS)] อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทำให้ประเด็นด้านจริยธรรมเข้มเข็งขึ้น และทำให้เกิดการปรับปรุทางสังคมอย่างแท้จริง แนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับประเด็นจริยธรรมนี้มี 4 ประการ คือ
1.   การทวีคูณของความสามารถในการคำนวณ (The doubling of computing power) จากคุณภาพ ข้อมูล ที่ไม่ดีและความผิดพลาดของระบบที่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้คนหันมาสนใจในเรื่องระบบมากขึ้น ในอดีตกฎระเบียบและกฎหมายสังคมยังไม่ได้ปรับให้ใช้กับบุคคลที่ถูกละเมิดข้อมูล รวมทั้งความถูกต้องของระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ที่ไม่มีมาตรฐานและไม่ได้การรับประกันซึ่งเป็นที่ยอมรับ แม้ว่าในปัจจุบันจะได้มีการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้นแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปได้
2.  ความก้าวหน้าของที่เก็บข้อมูล (Advances in data storage) เทคนิคและที่เก็บข้อมูลมีการพัฒนาทำให้ที่เก็บข้อมูลมีราคาต่ำลง และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากขึ้นถึง 55 เทียราไบท์/27 ตารางฟุต (Teranytes/27 square-foot space) การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเมื่อฐานข้อมูลมีความจุมากขึ้นและราคาถูกพอที่จะนำมาใช้ในการเก็บและแจกแจงข้อมูลของลูกค้าได้ ในบางครั้งก็มีผู้ที่ล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยการเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่นจากฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพนี้
3.  ความก้าวหน้าในเทคนิคการเจาะข้อมูลในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Advances in data mining techniques for large database) ผลจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่างแพร่หลายทำให้เกิดความเสมอภาคในสังคม เพราะในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ถูกใช้เฉพาะกลุ่มสังคมชั้นสูง เช่น ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ เช่น รัฐบาลต้องทำอย่างไรประชาชนจึงจะสามารถรักษาความเสอมภาคภายในสังคมได้ รวมทั้งสนับสนุนในการเข้าถึงข้อมูลที่มีความกระจัดกระจาย พร้อมทั้งนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ได้
4.  ความก้าวหน้าในโครงสร้างพื้นฐานของโทรคมนาคม (Advances in the telecommunications infrastructure) ในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเป็นสิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันและสามารถเจาะข้อมูลขนาดใหญ่ในที่ห่างไกลได้ ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นการล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคล การพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารทางด่วน (Superhighway communication networks) โดยใช้ระบบดิจิตอลสำหรับธุรกิจและบุคคลทำให้เกิดผลกระทบทางด้านจริยธรรมและสังคม ซึ่งไม่สามารถหาผู้ที่รับผิดชอบการไหลหรือการกระจายของข้อมูลในเครือข่ายได้
จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ
            จริยธรรมในสังคมสารสนเทศ (Ethics in an information society) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทางเลือกของบุคคล เมื่อต้องเผชิญในการปฏิบัติ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม
            แนวคิดพื้นฐาน : ความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ และภาระผูกพันการชำระหนี้ (Basic concepts : Responsibility, Accountability and liability) ประกอบด้วย
1.  ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล และเป็นองค์ประกอบหลักในการกระทำในด้านจริยธรรม ความรับผิดชอบ การยอมรับในเรื่องค่าใช้จ่าย หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบที่ต้องเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
2.  ภาระหน้าที่ (Accountability) เป็นลักษณะของระบบและสถาบันทางสังคม ซึ่งเป็นกลไกที่เป็นตัวกำหนดว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำ ระบบและสถาบันที่อยู่ในสภาพที่หาคนรับผิดชอบไม่ได้ ก็จะเป็นการยากที่จะวิเคราะห์ด้านจริยธรรม
3.  ภาระความรับผิด (Liability) เป็นลักษณะของระบบทางการเมือง หมายถึงข้อกำหนดตามกฎหมายที่ให้บุคคลชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น รวมถึงระบบ และองค์การด้วย
4.  กระบวนการในการยื่นอุทธรณ์ (Due process) เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับสังคมที่ใช้กฎหมายในการปกครอง หมายถึงกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกใช้จนเป็นที่รู้จัก และเป็นขบวนการตามขั้นตอนที่ทำให้บุคคลสามารถยื่นอุทธรณ์กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อตรวจสอบว่าได้มีการใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง
แนวความคิดทั้งหมดนี้ใช้ในการสร้างกรอบ หรือเกณฑ์ในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ทางด้านจริยธรรม ซึ่งสามารถแบ่งการศึกษาออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 
(1) จะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ [Information Systems (IS)] ขององค์กร สถาบัน และบุคคล ซึ่งเป็นตัวเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้น
(2) จะศึกษาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นกับสถาบันองค์การ และ บุคคลที่ใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology (IT)] ในท่าทีที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งหมายถึง การที่สามารถรับผิดชอบในการกระทำ
(3) จะศึกษาว่าสังคม การเมือง บุคคล และกลุ่มอื่น ๆ สามารถแก้ไขข้อเสียหายทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยผ่านขบวนการในการยื่นอุทธรณ์ได้ (Due process)