วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

5 เรื่อง


ผลไม้ไทย
กระท้อน
กระท้อน ภาษาอังกฤษ Santol, Sentul, Red Sentol, Yellow Sentol กระท้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น สะตู สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (อุดรธานี,ภาคเหนือ) เป็นต้น โดยต้นกระท้อนนี้จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (Meliaceae) เช่นเดียวกันกับกัดลิ้น ตะบูนขาว ตะบูนดำ ลองกองและสะเดา และเชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถวอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะแพร่ขยายไปในอินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์จนกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป
ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นสีเทา ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบ คล้ายรูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง โดยความกว้างของใบประมาณ 6-15 เซนติเมตร และยาว 8-20 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกกระท้อน กลีบดอกมีสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง และมีดอกย่อยจำนวนมาก
ผลกระท้อน  รูปทรงกลมแป้น ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางที่น้อยลง ผลกระท้อน มีขนาดประมาณ 5-15 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 4-5 เมล็ดและมีปุยสีขาวๆหุ้มเมล็ดอยู่ และเมล็ดมีรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้มอยู่


มะไฟ
มะไฟ ภาษาอังกฤษ Burmese grape มีชื่อวิทยาศาสตรว่า Baccaurea ramiflora Lour. สำหรับชื่อท้องถิ่นอื่นๆนั้นทางภาคใต้มักเรียกกันว่า ส้มไฟถ้าเป็นชาวเพชรบูรณ์จะเรียกกันว่า หัมกัง
            มะไฟ จัดเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย โดยปลูกกันแพร่หลายในอินเดียและมาเลเซีย และยังพบได้ทั่วไปตามในแถบเอเชีย มะไฟเป็นไม้ยืนต้น มีผลออกเป็นช่อ ผลอ่อนของมะไฟมีขนคล้ายกำมะหยี่ ถ้าผลแก่ผิวจะเกลี้ยง มีเปลือกสีเหลือง เนื้อมีสีขาวหรือขาวใสอมชมพู แล้วแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ส่วนเมล็ดจะแบนและมีสีน้ำตาล พันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปได้แก่ พันธุ์เหรียญทอง (ผลใหญ่ ก้นเรียบ มีเนื้อสีขาว), พันธุ์ไข่เต่า (ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อขาวอมชมพู หวานอมเปรี้ยวมากกว่าพันธุ์เหรียญทอง) และอีกสายพันธุ์คือมะไฟสีม่วง โดยเปลือกจะมีสีม่วง (ประเทศจีน)
            ผลมะไฟสุก จะมีรสเปรี้ยวอมหวาน และมีกรดอินทรีย์อยู่หลายชนิด รวมไปถึง วิตามินซี น้ำตาลและอื่นๆ ที่เป็นเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดๆ หรือจะนำมาใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ก็ได้ นอกจากผลของมะไฟที่มีประโยชน์แล้ว ส่วนอื่นๆของมะไฟก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย เช่น ใบของมะไฟ และรากสด-แห้ง ต่างก็มีประโยชน์เช่นกัน โดยมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่างๆได้

ตะขบป่าหรือเชอรี่ไทย
ตะขบป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Flacourtia indica) ภาคเหนือเรียก มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า หรือตานเสี้ยน พบทั่วไปตั้งแต่เอเชีย แอฟริกา โพลีเนเซีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นคดงอ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน มีหนาม ผิวใบเรียบหรือมีขนกระจาย ดอกออกเป็นช่อ ขนาดเล็ก สีขาว มีขนปกคลุม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน แยกออกตอนปลาย เกสรตัวผู้จำนวนมากสีขาว ผลกลม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเป็นสีแดงสด รสเปรี้ยว
ผลและยอดอ่อนรับประทานได้ ผลสดนำมาแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์[1] เนื้อไม้ใช้ทำด้ามอุปกรณ์ต่างๆ[1] ผลและเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ใบใช้แก้งูกัด เปลือกไม้รักษาโรคผิวหนังได้ ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่ใช้รากต้มน้ำดิ่มแก้ปวดเมื่อย


มะแว้งเครือ
มะแว้งต้น และ มะแว้งเครือ เป็นพืชผักสมุนไพรคนละต้นกัน แต่อยู่ในวงศ์ Solanaceae เดียวกัน มะแว้งต้นนั้นยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ มะแว้งต้นไร้หนาม (Solanum sanitwongsei Craib) และมะแว้งต้นมีหนาม (Solanum violaceum Ortega)
            มะแว้งต้นทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะใบและทรงต้นคล้ายมะเขือเปราะ มะเขือ เสวย มะเขือขื่น ฯลฯ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร มีอายุ 2-5 ปี มีขนสั้นๆ ปกคลุมทั่วไป ผลเดี่ยวกลมสีเขียวอ่อน และบางชนิดผลอ่อนสีค่อนข้างขาว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป้นสีส้ม ผลมีขนาด เส้นผ่านสูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ผลมะแว้งสดมีรสขม
            มะแว้งเครือ (Solanum trilobatum Linn.) บางครั้งเราเรียกมันว่า มะแว้งเถา ลักษณะทรงต้นเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยหรือทอดต้น ลำต้นและใบ สีเขียวเข้ม ผิวเรียบ เป็นมันวาว สะท้อนแสง มีหนามสีขาวใสแหลมคม กระจายทั่วทั้งต้นและก้านใบ ขอบใบเว้า ผลกลม เมื่อยังดิบสีเขียวอ่อน มีลายผลสีเขียวตามยาวไปหาขั้วผล เมื่อสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกมะแว้งเครือเกิดเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วงสด อับเรณูเป็นสีเหลืองสด ตัดกันดูสวยงาม ผลมะแว้งสดมีรสขมเช่นเดียวกับมะแว้งต้น
            พืชในวงศ์ Solanum มีประมาณ 1,500 สปีชี่ส์ ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย อเมริกา และประมาณ 25 สปีชี่ส์ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะแว้งต้นมีขึ้นกระจัดกระจายตั้งแต่อินเดียตลอดไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มะข้ามป้อม
มะขามป้อม ภาษาอังกฤษ คือ “Indian Gooseberry” ส่วนมะขามป้อมชื่อวิทยาศาสตร์จะใช้คำว่า “Phyllanthus emblica Linn.” เป็นสมุนไพรที่ชาวอินเดียใช้มา หลายพันปีแล้ว เพราะยาอายุวัฒนะ ซึ่งชาวอินเดียเรียกสมุนไพรหรือผลไม้ชนิดนี้ว่า Amalaka แปลว่า พยาบาลซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสรรพคุณของมะขามป้อมนั้นมีมากมายเหลือเกินและเป็นผลไม้ประจำ จังหวัดสระแก้วอีกด้วย
มะขามป้อม จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพและเป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งเพราะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีสูงมาก โดยประโยชน์มะขามป้อมหรือสรรพคุณมะขามป้อมนั้นมีมากมาย และยังใช้ เป็นยารักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เพราะมะข้ามป้อมนั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เป็นต้น และคุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินซีในน้ำคั้นจากผลของมะข้ามป้อมนั้นมีมากกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ซึ่งมะขามป้อมลูกเล็กๆ 1 ผล จะมีปริมาณวิตามินซี เท่ากับส้ม 1-2 ผลเลยทีเดียว